วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบแล้ว โลกเราไม่ได้มีดวงจันทร์แค่ดวงเดียว!


         ได้รับการสั่งสอนในชั่วโมงเรียนวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่สมัยเราเป็นเด็กๆ ว่า โลกของเรานั้นมีดาวบริวารเพียงดวงเดียว นั่นก็คือดวงจันทร์ลายกระต่ายที่เราเห็นอยู่เป็นประจำทุกค่ำคืน แต่ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงอื่นในระบบสุริยะนั้นมีดาวบริวาร (หรือดวงจันทร์) ที่โคจรรอบๆ มันอยู่เป็นจำนวนหลายดวงเลย แล้วโลกของเราหล่ะ จะมีดวงจันทร์เพียงดวงเดียวจริงหรือ???
ผลงานวิจัยชิ้นล่าสุดเผยความจริงที่ว่า นอกจากโลกของเราจะมีดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่เราเห็นจนชิ้นตาแล้ว โลกของเรายังมีดวงจันทร์ขนาดเล็ก "mini-moons" อีกเป็นจำนวน 1 ดวงหรือมากกว่านั้น แต่ดวงจันทร์ไซส์จิ๋วนั้นมีขนาดเล็กมาก แถมมันยังไปๆ มาๆ ในวงโคจรรอบโลกของเราอีกต่างหาก ทำให้ยากที่จะตรวจพบผลงานวิจัยนี้ ได้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อ Frontiers in Astronomy and Space Sciences เผยว่าคณะทำงานที่ฟอร์มทีมขึ้นมาจากนักดาราศาสตร์ระดับนานาชาติ ได้พูดถึงวัตถุขนาดเล็กในอวกาศ ที่กระโดดเข้ามาในวงโคจรรอบโลก พวกมันมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น พวกมันกลับมาแล้วก็หายไปจากวงโคจรอยู่หลายครั้งหลายหน และการค้นพบในรูปแบบนี้ ได้เปิดช่องทางใหม่ให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องวงจรชีวิตของดาวเคราะห์น้อย
และนักวิจัยได้อธิบายว่า มีการค้นพบ "ดวงจันทร์ขนาดเล็ก" เป็นครั้งแรกในปี 2006 เป็นครั้งแรกที่เริ่มมีการสำรวจวัตถุขนาดเล็กมากๆ ที่โคจรรอบโลก เป็นข้อยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ก้อนหินขนาดเล็กในอวกาศนั้นถูกตรึงด้วยแรงดึงดูดของโลกอย่างง่ายดาย กระนั้นการค้นพบในครั้งนี้ก็ยังนับว่ามีความสำคัญมากๆนักวิทยาศาสตร์แบ่ง ดวงจันทร์ขนาดเล็ก ออกเป็น 2 รูปแบบ คือ TCOs และ TCFs โดยย่อมาจาก Temporarily-Captured Orbiters และ Temporarily-Captured Flybys โดยดวงจันทร์ขนาดเล็กทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะไม่โคจรรอบโลกเป็นระยะเวลานานๆ พวกมันจะหนีออกไปจากวงโคจรโลก แล้วกลับมาเข้าวงโคจรอีกครั้ง โดยดวงจันทร์ขนาดเล็กประเภท TCOs นั้นจะโคจรรอบโลกอย่างน้อย 1 รอบ ก่อนที่มันจะหนีไป ในขณะที่แบบ TCF นั้นแค่แวะมาเฉียดโลก แล้วลอยจากไปด้วยความเร็วสูง
และจนถึงวันนี้ มีดวงจันทร์ขนาดเล็กแบบ TCO เพียงดวงเดียวที่มีการค้นพบในปี 2006 แต่นักวิจัยเชื่อว่า ด้วยเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ จะทำให้เราตรวจพบดวงจันทร์ขนาดเล็กได้มากขึ้น และการค้นพบจะทำให้นักดาราศาสตร์มีข้อมูลมากพอ เพื่อสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะของเรา
   ความคิดเห็น:เป็นข่าวที่น่าสนใจทำให้เราได้รู้ว่าความจริงเรื่องดวงจันทร์เป็นอย่างไร

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สหภาพยุโรปเล็งใช้กฏหมายบังคับใช้ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ไอทีใช้ที่ชาร์จเป็นมาตรฐานเดียวกันหมด


        ปฏิเสธไม่ได้เลยหว่า ทุกวันนี้ที่ชาร์จมือถือเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญในโลกสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานที่แตกต่างกันในแต่ละอุปกรณ์เป็นปัญหาที่ผู้ใช้ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ใน iPhone ใช้พอร์ต Lighning, Android ส่วนใหญ่ใช้ Micro USB ไม่ก็ USB-C ส่วนพวกกล้องติดรถยนต์มักจะนิยมใช้ Mini USB ซึ่งหากย้อนไปในปี 2009 ทางสหภาพยุโรป (European Union) ได้ออกมาเรียกร้องให้ทางบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ใช้มาตรฐาน Micro USB เป็นมาตรฐานหลักสำหรับที่ชาร์จมือถือแต่ในปี 2012 Apple ได้พัฒนาพอร์ต (พอร์ต Lightning) ของตัวเองขึ้นมาใหม่ และใช้ในอุปกรณ์ของตัวเองทั้ง iPhone, iPad และ iPod ซึ่งนั่นแสดงให้เห็นว่าคำเรียกร้องของ EU ดูจะไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ทว่าล่าสุดทาง EU ได้หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาชงใหม่อีกครั้ง โดยแผนใหม่ที่ EU จะใช้ คือ ร่างเป็นกฏหมายเพื่อบังคับให้บริษัทใช้พอร์ตเป็นมาตรฐานเดียวกัน
Margrethe Vestager (EU Competition Chief) ได้กล่าวว่า "การให้ทำตามข้อกำหนดด้วยจิตอาสาได้ผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นที่น่าพึงพอใจเท่าไหร่ คณะกรรมาธิการจะเร่งทำการวิจัยเพื่อประเมินมูลค่าความเสียหาย และผลประโยชน์ของการมีหลายมาตรฐานเพื่อหาข้อสรุป"
EU ได้กล่าวว่าทุกปีจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 51,000 ตัน เกิดขึ้นทุกปี มาจากอุปกรณ์จำพวกที่ชาร์จ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก หากคำนึงถึงจุดนี้ ก็ไม่น่าแปลกอะไรที่ทาง EU ต้องการใช้มาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดปริมาณขยะ ก็ได้แต่หวังว่าทุกบริษัทจะยินยอมตกลงใช้มาตรฐานเดียวร่วมกัน เพราะมันไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ผู้ใช้อย่างเราก็จะไม่ต้องลำบากพกสายหลายๆ แบบอีกต่อไป
                ความคิดเห็น:เป็นเรื่องที่ดีเพราะจะได้ไม่มีข้อแตกต่างเรื่องการชาร์ตแบตใครๆก็สามารถชาร์ตแบตในลักษณะที่เหมือนๆกันได้